ตารางเปรียบเทียบผลคะแนนระหว่าง IELTS,TOEFL และ TOEIC |
|
|
|
|
|
IELTS |
TOEFL PAPER |
TOEFL CBT |
TOEFL IBT |
TOEIC |
|
|
The Computer-Based Test |
Internet-Based Test |
|
0-1 |
0-310 |
0-30 |
0-8 |
0-250 |
1-1.5 |
310-343 |
33-60 |
9-18 |
|
2-2.5 |
347-393 |
63-90 |
19-29 |
255-400 |
3-3.5 |
397-433 |
93-120 |
30-40 |
|
4 |
437-473 |
123-150 |
41-52 |
405-600 |
4.5-5 |
477-510 |
153-180 |
53-64 |
|
5.5-6 |
513-547 |
183-210 |
65-78 |
605-780 |
6.5-7 |
550-587 |
213-240 |
79-95 |
|
7.5-8 |
590-637 |
243-270 |
96-100 |
785-900 |
8.5-9 |
640-677 |
273-300 |
111-120 |
905-990 |
|
|
Top Score |
|
|
9 |
677 |
300 |
120 |
900 |
TOEFL ย่อมาจาก Test of English as a Foreign Language (อ่านออกเสียงว่า โทเฟิล หรือ โทเฟล) เป็นการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกันซึ่งมีการออกแบบสำหรับใช้ในการประเมินความสามารถทางภาษาของผู้สมัครเพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อหรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารโดยผลคะแนนโทเฟลจะใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปี
TOEFL ทดสอบอะไรบ้าง
TOEFL จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การพูด (Speaking) การฟัง (Listening) การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) และในครั้งจะต้องผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการตอบคำถามโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่งสำหรับการสอบ โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆดังนี้
ทักษะ
|
ลักษณะของการสอบ
|
เวลารวม
(นาที)
|
คำถามทั้งหมด (คะแนนดิบ)
|
อัตราคะแนน
|
Reading
(การอ่าน)
|
อ่านบทความประมาณ 3-5 บท ซึ่งถ้าคิดเป็นความยาวแล้ว รวมทั้งหมดจะได้ประมาณ 700 คำ ซึ่งในแต่ละบทความนั้นจะมีคำถามให้ตอบประมาณ 12-14 ข้อ
|
60-100
|
36-70
|
0-30
|
Listening
(การฟัง)
|
- ฟังการบรรยาย (Lectures) 4-6 เรื่อง แต่ละเรื่องจะกินเวลาประมาณ 3-5 นาที และตอบคำถามประมาณ 6 ข้อต่อเรื่อง,
- ฟังบทสนทนา(Conversations) 2-3 บท ในแต่ละเรื่องใช้เวลา 3 นาที และตอบคำถาม 5 ข้อในแต่ละบท
|
60-90
|
34-51
|
0-30
|
Speaking
(การพูด)
|
พูด 2 หัวข้อเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในเรื่องทั่ว ๆ ไป (เรื่องที่คุ้นเคยในสังคมไทย) และ 4 หัวข้อในการพูดเกี่ยวกับ Academic
|
20
|
0-4
|
0-30
|
Writing
(การเขียน)
|
1 หัวข้อที่ให้ผู้ทดสอบ เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและได้ฟังมาและอีก 1 หัวข้อเกี่ยวกับการสนับสนุนความคิดเห็นของหัวเรื่อง
|
50
|
0-5
|
0-30
|
รวม
|
0-120
|
|
|
ทักษะ (Skill)
|
คะแนน (Score Range)
|
ระดับ (Level)
|
Reading (การอ่าน)
|
0-30
|
Low (0-14)
|
Intermediate (15-21)
|
High (22-30)
|
Listening (การฟัง)
|
0-30
|
Low (0-14)
|
Intermediate (15-21)
|
High (22-30)
|
Speaking (การพูด)
|
0-30
|
Weak (0-9)
|
Limited (10-17)
|
Fair (18-25)
|
Good (26-30)
|
Writing (การเขียน)
|
0-30
|
Limited (1-16)
|
Fair (17-23)
|
Good (24-30)
|
คะแนนรวม
|
0-120
|
|
IELTS คืออะไร
IELTS (International English Language Testing System) คือการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อ หรือรับการฝึกอบรมใน ต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์แคนาดา สหรัฐอเมริกา และผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายถิ่นฐาน ไปยังประเทศออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด
IELTS ทดสอบอะไร
IELTS เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียนผู้สอบจะได้รับใบรายงานผลการสอบโดยแยกเป็น แต่ละส่วนทั้ง 4 ทักษะลักษณะของคะแนนในการสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ระดับโดยเริ่มต้นที่ตั้งแต่ระดับที่หนึ่งไปจนถึงระดับที่เก้าซึ่งสามารถวัดระดับความรู้ความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สอบได้อย่างถูกต้องเช่น
ระดับที่ 1 ผู้เข้ารับการทดสอบที่ได้คะแนนในระดับนี้จะหมายถึงผู้ที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เลย
ระดับที่ 9 ผู้เข้ารับการทดสอบที่ได้คะแนนในระดับนี้จะหมายถึงผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
ในการสอบIELTS ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือสำหรับผู้ที่ต้องการจะสอบเพื่อนำผลไปสมัครเรียนต่อ และ สำหรับการฝึกอบรมผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสองแบบจะได้รับข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบการฟังและการพูดฉบับเดียวกัน ส่วนการทดสอบการเขียนและการอ่านจะใช้ข้อสอบคนละแบบซึ่งแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ
รูปแบบของการทดสอบแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ
1. เพื่อการศึกษาต่อ (ACADEMIC modules) เพื่อเป็นการทดสอบความพร้อมในการศึกษาต่อในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษทั้งในระดับ ปริญญาตรี และปริญญาโท
2. เพื่อการฝึกอบรม (GENERAL TRAINING modules) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวัดความพร้อมเพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยม การฝึกอบรมหรือทำงานในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อสอบจะใช้วัดความรู้ภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานและจะไม่ซับซ้อนเหมือนกับผู้ที่ต้องการวัดระดับความรู้เพื่อศึกษาต่อและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศนิวซีแลนด์ หรือออสเตรเลีย
GMAT - Graduate Management AdmissionTest
GMAT เป็นข้อสอบแบบปรนัย (Multiple-Choice) ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ด้านธุรกิจและบริหาร ACT ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงด้านการพัฒนาการสอบแบบคอมพิวเตอร์ เป็นผู้พัฒนาการสอบGMATและ Pearson VUE ซึ่งเป็นผู้นำในระดับโลกด้านการบริหารจัดการ การสอบแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ดำเนินการสอบปัจจุบันการสอบ GMATทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีศูนย์สอบนอกสหรัฐอเมริกามากขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอบทุกท่านจะสามารถเลือกลงทะเบียนสอบ GMATได้ทั้งในแบบ online หรือทางโทรศัพท์ โดยผู้สอบสามารถลงทะเบียนสอบ GMAT ที่ดำเนินการโดย Pearson VUE ได้
โครงสร้างของข้อสอบ
GMAT มีรูปแบบของการสอบเป็นแบบ Computer-Adaptive Test (CAT) และประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ:
1. Analytical Writing Assessment : เป็นการเขียน essay 2 บทความ บทความละ 30 นาที ซึ่งต้องทำด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น
2.Quantitative Section: 75 นาที 37 คำถาม ใน 2 รูปแบบคือ Data Sufficiency และ Problem Solving
3.Verbal Section: 75 นาที 41 คำถามใน 3 รูปแบบคือ Reading Comprehension, Critical Reasoning และ Sentence Correction
ผลสอบ GMAT
ผลสอบ GMAT จะประกอบไปด้วยตัวเลขต่างๆ หลายส่วน ตัวเลขที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่คือผลคะแนนรวม ซึ่งจะอยู่ในช่วง 200-800 ซึ่งเป็นคะแนนในส่วนของ Math และ Verbal คะแนนในส่วนของ Verbal และ Math จะได้รับการจัดคะแนนแยกจากกัน โดยคะแนนจะอยู่ในช่วง 0 - 60 สำหรับแต่ละส่วน ในส่วนของการเขียนบทความหรือ Analytical Writing Assessment (AWA) จะมีช่วงคะแนน 0-6 โดยในข้อสอบ จะมีบทความ 2 บทความ ซึ่งแต่ละบทความ จะได้รับการประเมินผลจาก 2 ฝ่าย อย่างไรก็ดี คะแนนในส่วนของ AWA จะไม่ได้นำเข้าไปรวมกับคะแนนรวม
GRE revised General Test (การสอบทั่วไป)
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2011 เป็นต้นไป GRE จะใช้ข้อสอบฉบับแก้ไขสำหรับการทำการทดสอบทั่วไป
ข้อสอบ GRE ฉบับแก้ไขมีการวัดทักษะในด้านต่างๆเหมือนกับข้อสอบ GRE ตัวเดิมดังนี้ – ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ, ความสามารถด้านคณิตศาสตร์, ความสามารถด้านการเขียนวิเคราะห์ ทักษะความรู้เหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาคณะใดคณะหนึ่ง แต่จำเป็นต่อการศึกษาในทุกคณะวิชา การปรับปรุงแก้ไขข้อสอบจะช่วยทำให้คุณได้รับประสบการณ์การสอบที่ดีขึ้น และข้อสอบมีรูปแบบคำถามใหม่ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณมีความพร้อมต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป ในข้อสอบ GRE ฉบับแก้ไขคุณจะได้พบกับ:
- การใช้สถานะการณ์ในชีวิตจริงมากขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของคุณเกี่ยวกับความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและด้านการบริหาร
- การใช้คำศัพท์ที่ไม่เป็นประโยคน้อยลง โดยจะเน้นด้านอ่านมากขึ้น---และไม่มีคำศัพท์ตรงกันข้ามหรือคำเหมือน
- มีการเพิ่มรูปแบบใหม่ๆในการทำข้อสอบ รวมถึงการสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนคำตอบในข้อสอบ การข้ามคำถามได้และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดจะรวมอยู่ในส่วนเดียวกัน อีกทั้งยังอนุญาตให้คุณใช้กลยุทธ์ในการสอบส่วนตัวของคุณมากขึ้น
- รูปแบบคำถามใหม่ เช่น คุณสามารถใส่ตัวเลขหรือตอบคำถามได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้อธิบายการตอบคำถามของคุณได้ดีขึ้น
- ให้มีการใช้เครื่องคำนวณได้ ในส่วนของวิชาคณิตศาสตร์ (สำหรับการสอบ GRE แบบใหม่ที่เป็น paper-based test จะมีการจัดหาเครื่องคำนวณไว้ให้ใช้ที่ศูนย์สอบระหว่างการสอบ)
โครงสร้างของการสอบแบบ Computer-based test:
Verbal Reasoning: ใช้วัดความสามารถในด้านการวิเคราะห์และประเมินบทความ และความสามารถในการหาข้อสรุป, วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของประโยค เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำและความคิด แบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วน ใช้เวลา 30 นาที มีข้อสอบ 20 ข้อ
Quantitative Reasoning: วัดความสามารถขั้นและความเข้าใจพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ และการวิเคราะห์เหตุผล จะแบ่งคำถามเท่าๆกันระหว่าง เลขคณิต, พีชคณิต, เรขาคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วน ใช้เวลา 35 นาที มีข้อสอบ 20 ข้อ
Analytical Writing: ใช้วัดความสามารถการแสดงความคิดเห็นและการเสนอแนวคิด, การวิเคราะห์และวิจารณ์ รวมถึงการเสนอแนวคิดเพื่อใช้ในหัวข้ออภิปรายต่างๆ ข้อสอบไม่ได้ทดสอบความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเขียนวิจารณ์บทความ ให้เวลา 30 นาที และการเขียนแสดงความคิดเห็น ให้เวลา 30 นาที
Unscored Section: ส่วนที่ยังไม่สามารถระบุคะแนนได้ จะอยู่ในคำถามส่วนใดก็ได้
Research Section: ส่วนที่เป็นแบบสอบถามและไม่มีคะแนนให้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนท้ายของข้อสอบ
โครงสร้างของการสอบแบบ Paper-Based Test
Verbal Reasoning: แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 35 นาที แต่ละส่วนมีข้อสอบ 20 ข้อ
Quantitative Reasoning: แบ่งเป็น 2 ส่วน ให้เวลา 35 นาที แต่ละส่วนมีข้อสอบ 20 ข้อ
Analytical Writing: แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ เขียนวิจารณ์บทความ ให้เวลา 30 นาที ส่วนที่สองคือ เขียนแสดงความคิดเห็น ให้เวลา 30 นาที
มีศูนย์สอบที่ได้รับมอบอำนาจประมาณ 700 ศูนย์สอบในกว่า 160 ประเทศ ดังนั้นคุณสามารถหาศูนย์สอบที่สะดวกได้ การสอบ GRE ฉบับแก้ไขสำหรับการสอบทั่วไปใน computer-based test จะมีให้บริการสอบตลอดปีในเกือบทุกทวีปทั่วโลก ในพื้นที่ที่ไม่มีการสอบแบบ computer-based test จะมีการจัดสอบ paper-based test แทน จัดการสอบปีละสามครั้งในเดือนตุลาคม, เดือนพฤศจิกายน และ เดือนกุมภาพันธ์
การเตรียมตัวสอบ
ฟรี เครื่องมือเตรียมตัวสอบอย่างเป็นทางการ มีบริการเพื่อให้คุณได้เริ่มฝึกสำหรับข้อสอบ GRE ฉบับแก้ไขซึ่งจะประกอบด้วย
- POWERPREP®II software : เป็นการทำความเข้าใจข้อสอบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการสอบแบบ computer-based test
- The Practice Book for the Paper-Based GRE® revised General Test : ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเคยชินกับการทำข้อสอบแบบ paper-based test ในการสอบ GRE ฉบับแก้ไข
เริ่มเตรียมตัวสำหรับการสอบ GRE โดยเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ www.ets.org/gre/revised/prepare.
การลงทะเบียนสอบ
คุณสามารถลงทะเบียนสอบ GRE แบบ General Test ออนไลน์โดยใช้บัตรเครดิตได้ที่www.est.org/gre/revised_general/register คุณสามารถลงทะเบียนสอบ GRE แบบ computer-based test ผ่านทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมายได้ สำหรับการลงทะเบียนสอบ GRE แบบ paper-based test ให้สมัครทางจดหมายส่งไปที่www.ets.org/gre เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ค่าธรรมเนียมการสอบ 160 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับ United States, Guam, U.S. Virgin Island และ Puerto Rico ค่าธรรมเนียมสอบ 190 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ สำหรับประเทศอื่นๆ หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.ets.org/gre/excitingchanges/learn
การรายงานผลการสอบ
จะเปลี่ยนการให้คะแนนตามรูปแบบ GRE ฉบับแก้ไขสิ่งที่คุณควรจะรู้เกี่ยวกับระดับคะแนนแบบใหม่
- คะแนนด้านภาษาอังกฤษ คะแนนในช่วง 130 – 170 คะแนน ความแตกต่างของคะแนนช่วงละ 1 (คะแนนช่วง 200 – 800 คะแนน ความแตกต่างของคะแนนช่วงละ 10)
- คะแนนด้านคณิตศาสตร์ คะแนนในช่วง 130 – 170 คะแนน ความแตกต่างของคะแนนช่วงละ 1 ( คะแนนช่วง 200 – 800 คะแนน ความแตกต่างของคะแนนช่วงละ 10)
- คะแนนด้านการเขียนวิเคราะห์ จะแสดงคะแนนช่วง 0 – 6 คะแนน ความแตกต่างของคะแนนช่วงละ 0.5 คะแนน รายละเอียดของคะแนนในเรื่องการเขียนจะแนบมากับรายงานผลการสอบของท่าน และสามารถดูเพิ่มได้ที่www.ets.org/gre/revised_general/prepare/analytical_writing/score_level_descriptions
หากคุณไม่ได้ตอบคำถามในส่วนของภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ หรือ การวิเคราะห์ รายงานจะแสดงคะแนนเป็น No Score (NS)
โปรดแน่ใจว่าคุณส่งคะแนนสอบไปยังสถาบันที่คุณสมัครก่อนวันที่หมดเขตการรับสมัครของแต่ละสถาบัน และหากคุณต้องการสอบในช่วงเดือนสิงหาคม และเดือนพฤศจิกายน คุณต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการรายงานผลการสอบด้วย หากโรงเรียนต้องการให้คุณส่งคะแนนสอบก่อนเดือนพฤศจิกายน คุณจะต้องทำการสอบก่อนเดือนสิงหาคม เพื่อให้แน่ใจว่าคะแนนของคุณจะออกทันเวลา
TakeTheGRE.com & Facebook
เพื่อช่วยให้คุณได้เตรียมตัวสำหรับการสอบ GRE ฉบับแก้ไข TakeTheGRE.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ GRE ฉบับแก้ไขรวมถึงมีคู่มือเตรียมตัวสำหรับการสอบให้คุณได้ชมฟรีด้วย คุณสามารถลงทะเบียนขอใช้บริการเตือน เกี่ยวกับการลงทะเบียน การเตรียมตัวสอบและอื่นๆอีกมากมาย โปรแกรม GRE ยังมีหน้าเพจ Facebook “I’m Taking the GRE revised General Test” เพจนี้จะเพิ่มโอกาสให้คุณได้แบ่งปันคำแนะนำ ให้กำลังใจผู้เข้าร่วมสอบคนอื่นๆ และได้รับข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับการสอบ GRE ฉบับแก้ไข และคุณสามารถสมัครเป็นสมาชิก Facebook เพื่อเข้าร่วมกับพวกเราได้ใน Facebook
GRE Subject Tests (การสอบเฉพาะวิชาสาขา)
การสอบเฉพาะวิชาสาขา จะช่วยให้คุณโดดเด่นเหนือผู้สมัครคนอื่นๆ โดยการเน้นความรู้และระดับความสามารถในสิ่งที่คุณถนัด การสอบเฉพาะวิชาสาขาจะเน้นความสามารถในวิชาเฉพาะทาง มีสอบใน 8 สาขาวิชา ได้แก่
- Biochemistry , Cell and Molecular Biology จุลชีววิทยา , จุลชีววิทยา เซลล์ และโมเลกุล
- Biology ชีววิทยา
- Chemistry เคมีวิทยา
- Computer Science วิทยาการคอมพิวเตอร์
- Literature English วรรณคดีอังกฤษ
- Mathematics คณิตศาสตร์
- Physics ฟิสิกส์
- Psychology จิตวิทยา
การสอบแต่ละวิชาขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือก และขึ้นอยู่กับระเบียบของสาขาวิชานั้นๆ การสอบจะเป็นแบบ Paper-test ซึ่งจะจัดสอบตามศูนย์สอบทั่วโลกปีละ 3 ครั้ง คือ เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนเมษายน คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิชาที่จัดสอบได้ที่ GRE website: www.ets.org/gre/subject/about.
การเตรียมตัวสอบ
แบบเตรียมตัวสอบอย่างเป็นทางการ มีให้บริการฟรีสำหรับผู้ที่ได้ลงทะเบียนสอบหรือสำหรับผู้ที่เข้าไปยังwww.ets.org/gre
/subject/prepare
หนังสือเตรียมตัวสอบของแต่ละวิชา กลยุทธ์การทำข้อสอบ และข้อมูลเกี่ยวกับการให้คะแนนสอบ หนังสือเตรียมตัวสอบจะส่งให้แก่ผู้ที่ลงทะเบียนสอบวิชาเฉพาะ หรือสามารถดาวน์โหลดฟรีได้ที่ www.ets.org/gre
/subject/prepare.
การลงทะเบียนสอบ
คุณสามารถลงทะเบียนวิชาเฉพาะออนไลน์ได้ที่ www.ets.org/gre/subject/register ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น คุณสามารถลงทะเบียนสอบโดยจดหมายได้ด้วย เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ets.org/gre
/subject
ค่าธรรมเนียมการสอบวิชาเฉพาะ คือ 150 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั่วโลก ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา, U.S. Territories & Puerto Rico ค่าธรรมเนียมสอบเท่ากับ 130 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ
การรายงานคะแนนสอบ
คะแนนสอบรวมของทุกวิชาจะแสดงคะแนนอยู่ในช่วง 200 – 900 คะแนน บางวิชาช่วงคะแนนจะอยู่ที่ 20 – 99 คะแนน คะแนนสอบวิชาเฉพาะจะส่งให้คุณและสถาบันที่คุณได้เลือกไว้ภายใน 6 สัปดาห์ หลังการสอบ
GRE Search Service
บริการฟรีของ GRE Search Service สามารถช่วยจับคู่คุณกับสถาบันที่เหมาะสม ตามข้อมูลที่คุณได้ให้ไว้กับทาง GRE ถ้าสถาบันเหล่านั้นเห็นว่าคุณมีความเหมาะสม ก็จะติดต่อคุณกลับมาเพื่ออธิบายถึงแผนการเรียน วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงคุณกับสถาบันต่างๆที่คุณยังไม่ได้ตัดสินใจเลือก เมื่อคุณได้ลงทะเบียนที่ GRE คุณจะได้รับบริการ Search Service นี้ไปด้วย หรือคุณสามารถลงทะเบียนเข้า Search Service ได้ทุกเวลาที่ www.ets.ore/gre/stusearch
ETS Personal Potential Index
ETS Personal Potential Index (ETS PPI) เป็นเว็บไซต์ที่ทำให้สถาบันหรือโรงเรียนบริหารต่างๆ รู้จักคุณมากขึ้น โดยการรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวคุณบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการจบการศึกษาหรือความสำเร็จของคุณ รวมถึง : ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ความยืดหยุ่น การวางแผนและแผนผังองค์กร คุณธรรมและจริยธรรม เมื่อคุณใช้คะแนน GRE และใบแสดงผลการศึกษา แบบประเมิน ETS PPI จะช่วยให้สถาบันต่างๆรู้จักคุณมากขึ้น เมื่อคุณลงทะเบียนสอบ GRE แบบทั่วไปคุณก็ยังสามารถส่งแบบประเมิน ETS PPI ได้ฟรีมากถึงสี่ใบไปยังสถาบันที่คุณเลือกไว้อีกด้วย ETS PPI มีบริการสำหรับบุคคลที่ไม่ได้วางแผนที่จะสอบ GRE แบบทั่วไป ในอัตรา 20 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯต่อการประเมิน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ets.org/ppi.
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ GRE และบริการอื่นได้ที่ www.ets.org/gre.